Product Support Hotline

โทร : 02-557-1073

Live Chat Support
No Shipping Fees

Free Local Shipping*

Write to Us

Promotion - รายการสินค้าแนะนำ

Digital Thermometer Model: 307P (Dual)

Digital Thermometer Model: 307P (Dual)

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Digital Thermometer

Digital Thermometer "Fluke" Model: 51-II

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Thermo Hygrometer

Thermo Hygrometer "Testo" Model: 608-H2

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Sontara Wirpes Model: MP Knit

Sontara Wirpes Model: MP Knit

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Refrigerator Thermometer

Refrigerator Thermometer "Ebro" Model TMX 310

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Rotronic HC2-IC Standard Industrial Humdity & Temperature Probe

Rotronic HC2-IC Standard Industrial Humdity & Temperature Probe

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
การสอบเทียบ (Calibration) คืออะไร?

ทำไมต้องสอบเทียบ? ความไม่แน่นอนของการวัดคืออะไร? เครื่องมือใดบ้างที่ต้องสอบเทียบ? เรามาหาคำตอบกัน

การสอบเทียบ (Calibration) คืออะไร?

     การสอบเทียบ (Calibration) คือ การปฏิบัติการเปรียบเทียบผลการวัดของ เครื่องมือที่ไม่รู้ค่าความถูกต้อง กับ เครื่องมือหรืออุปกรณ์มาตรฐานที่รู้ค่าความถูกต้อง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือทั้งสอง ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการสอบเทียบดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สอบเทียบของห้องปฏิบัติการที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละรายการ ทั้งนี้ต้องรายงานผลการวัดพร้อมหน่วยการวัดต้องสอบกลับได้สู่หน่วยสากล และระบุความไม่แน่นอนของการวัดด้วย

 

     การสอบเทียบ มีนิยามตาม VIM 6.11 ว่า “ชุดการดำเนินการเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ชี้บอกโดยเครื่องมือวัด หรือระบบการวัด หรือค่าที่แสดงโดยเครื่องมือที่เป็นวัสดุ กับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัดภายใต้เงื่อนใขที่กำหนดไว้”

ทำไมต้องสอบเทียบ?

  • เพื่อให้ทราบค่าความคลาดเคลื่อน หรือค่าแก้ของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม 

  • เพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องมือมีความถูกต้องเป็นไปตามเกณฑ์/อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 

  • เพื่อให้ผลการวิเคราะห์การตัดสินต่างๆโดยใช้เครื่องมือที่ได้รับการสอบเทียบนี้มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ 

  • เพื่อเป็นการแสดงถึงความสามารถในการสอบกลับได้ของเครื่องมือวัดนั้น

ความไม่แน่นอนของการวัด (Measurement uncertainty) คืออะไร?

  • ความไม่แน่นอนของการวัด (Measurement uncertainty) เกิดจากพารามิเตอร์ที่เกี่ยวเนื่องกับผลการวัด ซึ่งบอกลักษณะการกระจายค่าของปริมาณที่ถูกวัดอย่างสมเหตุสมผล 

  • เป็นสิ่งที่บ่งบอกความไม่สมบูรณ์ของปริมาณที่ถูกวัดว่ามากน้อยเพียงใด จากขั้นตอนการสอบกลับ 

  • เป็นสิ่งที่บ่งบอกคุณภาพของการวัดว่าน่าเชื่อถือได้ดีเพียงใด 

  • การรายงานผลการวัดจะต้องรายงานพร้อมกับค่าความไม่แน่นอนในการวัดของเสมอ เพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการวัดกับเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับ 

  • โดยทั่วไปจะรายงานความไม่แน่นอนในการวัดที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

เครื่องมือใดบ้างที่ต้องสอบเทียบ?

  • เครื่องมือที่มีมาตรฐานกำหนดไว้ว่าต้องสอบเทียบ 

  • ผลการวัดของเครื่องมือนั้นส่งผลกระทบกับผลการวิเคราะห์ 

  • ใช้ผลการวัดของเครื่องมือเพื่อประกอบการวิเคราะห์/การตัดสิน

ค่าความผิดพลาด (Error/Deviation) และค่าแก้ (Correction)

ค่าความผิดพลาด (Error/Deviation)

= ค่าที่เครื่องมือถูกนำมาสอบเทียบอ่านได้ (UUC Reading) - ค่าที่เครื่องมือมาตรฐานอ่านได้ (Standard Reading)

 

ค่าแก้ (Correction)

= ค่าที่เครื่องมือมาตรฐานอ่านได้ (Standard Reading) - ค่าที่เครื่องมือถูกนำมาสอบเทียบอ่านได้ (UUC Reading)

ค่าความผิดพลาด (Error/Deviation)

= ค่าที่เครื่องมือถูกนำมาสอบเทียบอ่านได้ (UUC Reading) - ค่าที่เครื่องมือมาตรฐานอ่านได้ (Standard Reading)

 

ตัวอย่าง

Result of Calibration

Function:                                Temperature measurement (Without Adjustment)

 

Standard Reading UUC* Reading Error Uncertainty
( °C ) ( °C ) ( °C ) ( ± °C )
100.0000 99.9 -0.1000 0.043

UUC*: Unit Under Calibration

 

การนำผลสอบเทียบไปใช้งาน

ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้ = ค่าอุณหภูมิที่เครื่องมือวัดอ่านได้ – ค่าความผิดพลาด (Error)

จากผลการสอบเทียบระบุ ที่ 100 °C เครื่องมือมีค่า Error = -0.1 °C และนำเครื่องมือนี้ไปใช้งานวัดอุณหภูมิของ Oil อ่านได้ 100 °C  คำถาม อุณหภูมิที่แท้จริงของ Oil จะเป็นเท่าไร?

            ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้      =          ค่าอุณหภูมิที่เครื่องมือวัดอ่านได้ – ค่าความผิดพลาด (Error)

                                                  =          100 - (-0.1)

            ดังนั้น

            ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้      =          100.1 °C ± 0.043 °C ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%      

ค่าแก้ (Correction)

= ค่าที่เครื่องมือมาตรฐานอ่านได้ (Standard Reading) - ค่าที่เครื่องมือถูกนำมาสอบเทียบอ่านได้ (UUC Reading)

 

ตัวอย่าง

Result of Calibration

Function:                                Temperature measurement (Without Adjustment)

Standard Reading UUC* Reading Correction Uncertainty
( °C ) ( °C ) ( °C ) ( ± °C )
100.0000 99.9 0.1000 0.043

UUC*: Unit Under Calibration

การนำผลสอบเทียบไปใช้งาน

ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้ = ค่าอุณหภูมิที่เครื่องมือวัดอ่านได้ + ค่าแก้ (Correction)

จากผลการสอบเทียบระบุ ที่ 100 °C เครื่องมือมีค่า Correction = 0.1 °C และนำเครื่องมือนี้ไปใช้งานวัดอุณหภูมิของ Oil อ่านได้ 100 °C  คำถาม อุณหภูมิที่แท้จริงของ Oil จะเป็นเท่าไร?

            ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้      =          ค่าอุณหภูมิที่เครื่องมือวัดอ่านได้ + ค่าแก้ (Correction)

                                                  =          100 + 0.1

            ดังนั้น

            ค่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้      =          100.1 °C ± 0.043 °C ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%                 

 

 

เอกสารอ้างอิง

  • เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการใช้งานและการทวนสอบเทอร์โมมิเตอร์อย่างถูกวิธีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม จัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการสอบเทียบเครื่องมือ คือโอกาสพัฒนายอดฮิต จัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการจัดการเครื่องมือวัดอุณหภูมิ และการอ่านตีความใบรับรองผลการสอบเทียบ จัดโดยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย