Product Support Hotline

โทร : 02-557-1073

Live Chat Support
No Shipping Fees

Free Local Shipping*

Write to Us

Promotion - รายการสินค้าแนะนำ

Digital Thermometer Model: 307P (Dual)

Digital Thermometer Model: 307P (Dual)

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Digital Thermometer

Digital Thermometer "Fluke" Model: 51-II

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Thermo Hygrometer

Thermo Hygrometer "Testo" Model: 608-H2

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Sontara Wirpes Model: MP Knit

Sontara Wirpes Model: MP Knit

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Refrigerator Thermometer

Refrigerator Thermometer "Ebro" Model TMX 310

สอบถามข้อมูล
02-557-1073
Rotronic HC2-IC Standard Industrial Humdity & Temperature Probe

Rotronic HC2-IC Standard Industrial Humdity & Temperature Probe

สอบถามข้อมูล
02-557-1073

บริการจัดทำ Temperature Mapping อย่างครบวงจร ตั้งแต่การดำเนินการจัดทำ Mapping Protocol เก็บบันทึกข้อมูล และ จัดทำรายงานผลการศึกษา Temperature Mapping โดยพนักงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์

ขั้นตอนการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping)

ในกระบวนการศึกษาและจัดทำ Temperature Mapping จะต้องมีการเตรียมเอกสาร Mapping Protocol ก่อน จากนั้นจึงศึกษาอุณหภูมิและความชื้น และดำเนินการจัดทำรายงานผลการศึกษา

  1. เลือกเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ที่หน่วยความจำกับช่วงใช้งานครอบคลุมและผ่านการรับรองการสอบเทียบ ISO/IEC 17025 โดยจะต้องมีค่า error ไม่เกิน ± 0.5 ˚C โดยข้อมูลที่ได้จะต้องบันทึกและวิเคราะห์ตามข้อกำหนด เช่น 21 CFR part 11 Software
  2. จัดตั้งทีมงานสำหรับการทำ Temperature Mapping
  3. สำรวจพื้นที่หน้างานและวาดแผนผังพื้นที่ที่จะทำการศึกษา โดยจะต้องทราบ ความกว้าง ความยาว และความสูง ของพื้นที่ที่จะทำการศึกษา รายละเอียดของชั้นวางของ พาเลท อุปกรณ์ทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ พัดลม ที่มีผลต่อความเสถียรของอุณหภูมิ
  4. กำหนดเกณฑ์การยอมรับสำหรับพื้นที่ที่จะทำการศึกษา
  5. กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)

จะถูกติดตั้งในแนวกว้าง และแนวยาว ทุก 5-10 เมตร (พื้นที่ที่ทำการศึกษามีขนาดใหญ่สามารถติดตั้งเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ห่างกันได้ทุก 20-30 เมตร) ความสูง หากเพดานสูงไม่เกิน 3.6 เมตร แนะนำให้ติดตั้ง 3 ระดับ หากเพดานสูงมากกว่า 3.6 เมตร ให้ประเมินจุดติดตั้งมากกว่า 3 ระดับ

  1. กำหนดรหัสเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) และระบุตำแหน่งที่นำไปติดตั้งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ถูกนำไปติดตั้งสลับตำแหน่งกัน
  2. ดำเนินการตั้งโปรแกรมเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)ให้เริ่มต้นทำงานในวันและเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปตั้งค่าการบันทึกข้อมูลอยู่ที่ระหว่าง 1 – 15 นาที
  3. นำเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ไปติดตั้งตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
  4. ดำเนินการทำ Temperature Mapping
  5. ดาวน์โหลดข้อมูลที่ทำการบันทึกจากเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)

หลังจากได้ข้อมูลและรายงานผลเพื่อหาจุด Hot spot และ Cold spot ของพื้นที่แล้ว จะต้องมีการติดตั้ง เครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) เพื่อใช้สำหรับติดตามอุณหภูมิในตำแหน่งจุดวิกฤต

คำแนะนำ การทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping)

  • ควรดำเนินการทดสอบแบบ Empty Load (หากสามารถดำเนินการได้) และแบบ Full Load เพื่อจะได้ทราบถึงขีดความสามารถของการเก็บรักษาวัตถุดิบ, สินค้าและผลิตภัณฑ์
  • ควรดำเนินการทดสอบในช่วงเวลา ประมาณ 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน
  • ควรทำในสภาวะที่แตกต่าง เช่น ทำตามฤดูกาล ทำตามสภาวะที่อาจเกิดความผิดพลาดของ ระบบความคุมอุณหภูมิ เช่น ไฟฟ้าดับ เป็นต้น เพื่อทดสอบว่าหากระบบมีการขัดข้อง ไม่มีไฟสำรอง หรือระบบไม่ทำงาน เพื่อจะได้มีวางแผนในการรับมือหากเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น
  • หากพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบ, สินค้าและผลิตภัณฑ์ มีการปรับเปลี่ยนระบบทำความเย็น, ทิศทางการระบายอากาศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ แนะนำให้มีการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping) ซ้ำ เพื่อให้ตรวจสอบระบบอีกครั้งว่าการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
  • หากไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบใดๆ แนะนำให้ตรวจสอบโดยการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping) เพื่อเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 3-5 ปี